ตอน 7.1 : ภาษาภาพยนตร์ขั้นพื้นฐาน : SHOT (1)
ชนเผ่ามนุษย์ทำหนังของเรานั้น เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการไม่ต่างกับมนุษย์เผ่าอื่น เผ่าของเรา มีการประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนาภาษาของเรามาเกือบ 150 ปีแล้ว
ภาพยนตร์ - เกิดขึ้นในโลกครั้งแรกราวปี คศ. 1890 หนังทั้งหมดในยุคนั้นเป็น “หนังเงียบ” - Silent film. (ระบบอัดเสียงมาเกิดขึ้นอีก 37 ปีให้หลัง ) รู้หมือไร่ ว่า หนังตลกอย่าง ชาร์ลี แชพพลิน (Charlie Chaplin) นี่ ภาคแรกๆ ยังเป็นหนังเงียบนะจ๊ะ - หูยแล้วตลกกันเข้าไปได้ยังไง ไม่ได้ยินเสียงตบมุข!?!?! บรรพบุรุษของเรานี่ไม่ธรรมดา
เพราะสารัตถะสำคัญของภาพยนตร์คือการ “เล่าเรื่อง” ชุดภาษาภาพ ที่มีความหมายในตัวเอง จึงเป็นเครื่องหลักมือที่บรรพบุรุษของเราใช้บอกเรื่องราว ดังนั้น ภาพยนตร์ก็มีไวยยากรณ์ และโครงสร้างภาษาเป็นของตัวเอง เหมือนที่ภาษาอื่นๆเค้ามีกัน
ถ้า “ภาษาพูด” มี คำ—> ประโยค —> และย่อหน้า “ภาษาหนัง” ก็มี Shot —> Scene —> และ Sequence ตามลำดับ
จะคุยอะไรกับใครก็ควรพูดให้รู้เรื่อง ให้คนฟังเค้าเข้าใจ พูดให้มันต่อเนื่อง ไม่ใช่ตะกุกตะกัก หรือ ติดอ่าง #การทำหนังก็เช่นกัน ควรทำให้มันมีความ Continuity อย่าติดอ่าง หนังจะโดด - มันเสียลุค ยูโหนวววว? 😎
ทีนี้ - SHOT คืออะไร?
Shot (ช็อต) คือหน่วยภาพที่เล็กที่สุดของหนัง เปรียบได้กับ “คำ” ในภาษาคน
ประโยค เกิดจากการนำ คำ หลายๆคำมาร้อยเรียงกัน
- งั้น ถ้าเรานำ Shot หลายๆ Shot มารวมกัน มันก็จะเกิด Scene (ซีน)
พอเราร้อยประโยคสามสี่ประโยคเข้าด้วยกัน มันก็จะเกิดย่อหน้า
- งั้น Scene หลายๆ Scene พอมาร้อยกัน ก็จะเกิดเป็น Sequence (ซี- เคว้นซ์) ขึ้นมา
ถ้าหลายๆย่อหน้า มารวมกันเป็น 1 เรื่องเล่า
- งั้น หลายๆ sequence มารวมกัน ก็ได้ออกมาเป็นหนังเรื่องหนึง ยังไงล่ะคะ
เรื่องเล่า เค้านำมาเขียนลงในหน้ากระดาษให้คนอ่าน
- งั้น เรื่องหนังก็เอามาร้อยลงจอเป็นภาพยนตร์ให้คนดู
อ้าวแล้วหนังนี่เค้าไปร้อยกันที่ไหน? ตอบคือ ร้อยในห้องตัดต่อไงคะ - ก็บอกแล้วว่า Script Supervisor is the Eyes of Editor on set ฉะนั้น นางต้องเข้าใจไวยกรณ์ภาษาของชาวเรา โดยเริ่มจากหน่วยย่อยที่สุด คือ Shot กันก่อนเลย (เพราะเราต้องเขียนลงใน note ให้คนตัดไงคะ ว่าเค้าถ่าย shot อะไรกัน บลาๆๆ)
ชนิดของ Shot : พื้นฐานง่ายๆ มีอยู่ 3 หมวด คือ พูดกันอยู่ด้วยเรื่อง กว้าง, กลาง, แคบ จำแนกไปตามระยะห่างทางสังคมระหว่างคนดู กับตัวแสดง ในบทนี้จะหยิบชนิดของ Shot ขั้นพื้นฐานมาเล่าสัก 6 ระยะก่อน มากกว่านั้น เดี๋ยวมันจะยาวไป
1. Establishing Shot ตัวย่อคือ ELS.
มักเป็นภาพกว้างๆ โคตรกว้าง มากๆ จนสุดลูกหูลูกตา อาจมี landmark ของสถานที่นั้นๆให้เห็นในภาพ ส่วนใหญ่ใช้เป็น Shot เปิดสถานที่ เพื่อแนะนำกับคนดูว่า เรื่องที่กำลังจะเล่าต่อไปนี้ เกิดขึ้นที่ไหน เช่น ถ้าเป็นภาพวิวเมือง มีตุกรามบ้านช่องสุดลูกหูลูกตา มองไปเห็นแม่น้ำเจ้าพระยา เลื้อยเป็นสายพาดไปมา อยู่ในภาพ...
แล้ว sub ไตเติ้ลก็ขึ้นมาข้างล่างว่า " กรุงเทพมหานคร , ฤดูร้อน 2560” เป็นต้น คนดูก็รู้ละ อ้อ นี่เราอยู่ประเทศไทย
***หมายเหตุ : ถ่าย ELS นี่ก็ใส่เลนส์กว้างนะคะ อาจจะเป็นเลนส์ 16mm., 25mm. หรืออะไรก็ตาม ที่มีในกระเป๋า และเป็นเลนส์กว้าง - Script sup ก็จะจดลงไปตอนถ่ายค่ะ ว่า CAM A, Roll 012, SLATE 001 Scene 1 - ELS. วิวตึก และ แม่น้ำเจ้าพระยา (ใช้สำหรับเปิดเรื่อง ) Lens 16mm.,T-stop 4, Filter PLSpeed 23.976 (5 mins.) MOS มีกี่เทคก็เขียนไป... เป็นต้น
2. Wide Shot ตัวย่อคือ WS.
ช็อตกว้าง (WS. ) นี้ เป็นระยะทางสังคมที่ไม่ค่อยสนิทมากกับคนดู คือ มันจะเห็นไกลๆ เห็นภาพรวม เหมือน ยามเย็น เรานั่งอยู่บนม้านั่งในสวนลุม แล้วมมองออกไป ... ไกลๆ ตรงนู้น ทีนี้. ลองยกมือสองข้างของเราขึ้นมา แล้ววางลงไปที่หางตาทั้งสองข้าง - ซ้ายและ ขวา เราก็จะได้ขอบเฟรมที่ เป็นจอผืนผ้าละ นึกออกแมะ ? เห็นเรือเป็ดลำหนึ่ง ถีบเข้าเฟรมมาจากทางด้านขวาาา .... อืม เห็นไกลๆ เรือสีขาว มีคนอยู่ในนั้น 2 คน คนนึงเสื้อเหลือง คนนึงเสื้อฟ้า แต่เห็นหน้าไม่ชัดว่ะ มันไกล...
3. Full Shot ตัวย่อคือไรนะ หาไม่เจอ ปกติก็เขียน Full ไป
ทีนี้... หนังก็จะพาเราเสือกเข้าไปในเรื่องของชาวบ้านเค้าอีกนิส ... ด้วย Full Shot ความจริงมันก็ยัง อยู่ในหวมด Wide อยู่ แต่ตีวงให้แคบมาหน่อยคือ เห็นระยะ เต็มตัว (เหมือนรูปถ่ายเต็มตัว) บางคนก็ใช้ WS. เรียก shot นี้ - ได้เหมือนกัน
อะ เราก็เสือกสายตา ซูมใกล้เข้าไป อ๋อ เห็นละ คนนึงเป็นผู้ชาย เสื้อเหลือง ผมสั้น นั่งข้างขวา อีกคนเป็นชะนี ผมประบ่า เสื้อสีฟ้า นั่งข้างซ้าย หน้าตาจิ้มลิ้ม... เอ๊ะ! อิสองคนนี้มันเป็นอะไรกัน???? อุตะ เราต้องรู้ให้จงได้ - ไปค่ะ เสือกเรื่องชาวบ้านต่อ
4. Medium Shot ตัวย่อ คือ MS.
หนังพาเรา สาระแนเข้าไปอี๊กกก ทีนี้ไปเห็นระยะครึ่งตัว เราจะรู้สึกว่าเริ่มสนิทกับสองคนนี้ขึ้นมานิดหน่อย คุณพระ! นี่อิผู้ชายมันดูแก่กว่านี่!!!! มองเผินๆนี่มี 50-60 แล้วนะ แล้วชะนีล่ะ หวายๆๆๆๆ เพิ่งจะ 20 ต้นๆ เหยๆๆๆแกร เค้าเป็นอะไรกันอ้วะ??? นี่ๆๆๆๆ อิผู้ชายหันไปหาน้องเค้าแล้ว😲
5. Close Up Shot ตัวย่อคือ CU.
เข้าแคบเลยค่ะ! ความเสือกระดับเรา ไปดูหน้ามันชัดๆ (เดี๋ยวนะ ตะกี้มึงบอกว่านั่งอยู่ที่ม้านั่งไกลๆโน้น? ก็ถ้าเป็นโลกมนุษย์เราเสือกไม่ได้ในระดับนี้ แต่ในโลกภาพยนตร์เราทำได้ ข่ะ)
ระยะ Close up คือระยะชิดใกล้สมชื่อ โดยมากก็ เริ่มจาก ระดับประมาณเหนือราวนม ขึ้นไปยันศรีษะ เราจึงเห็นหน้า น้าเค้าชัดเจน ตอนที่เค้าหันมา..... คุณพระ! นั่น น้าแอ๊ด สมบัติเมทะนี สวมบทเศรษฐีใจบุญ กำลังร้องไห้ เห็นน้ำตาไหลลลลลลล รินลงมาอาบแกล้ม แกทำท่าล้วงมือขวา (มีแหวนพลอยสีแดงเรือนทองเม็ดเป้งสวมอยู่ที่นิ้วนาง - นี่เป็นไงคะ เป็นคอนทินิว ต้องสังเกตไว้) ลงไปในกระเป๋าอกเสื้อ ..... 😳แอร๊ยยยยย มองไม่ถนัดเลย แกจะหยิบอะไรนะ???
6. Insert Shot ตัวย่อคือ INS.
ด้วยความเสือกระดับ 10 - insert shot นี้ จะพาเราไปชะโงกดูของในกระเป๋าน้าแอ๊ดกันเลยทีเดียว ... INS จะเป็น Shotเจาะแคบๆ เอาไว้ใส่แนม ระหว่างการเล่าเรื่องเพื่อลงรายละเอียด* โอ้ว แกหยิบรูปถ่ายสีขาวดำของเด็กหญิงคนนึ่งออกมาจากกระเป๋าเสื้อ ..... อ๋ออออออ อิน้องนี่ สงสัยเป็นลูกสาวที่พลัดพราก ไม่ใช่เมียน้อยแต่ประการใด ... โล่งอก 😬 (นี่ตอนไปถ่าย shot นี้ น้าแอ๊ดไม่เล่นเองนะ เราจะใช้ stand in พอ เพราะไม่เห็นหน้า เห็นแค่นิ้ว กระซิบผู้ช่วย ห้ามลืมเอาแหวนพลอยแดงไปให้มันใส่ด้วยล่ะ เดี๋ยวคนดูจับได้- จาก script sup)
หูย.. เขียนไป เขียนมา มันยาวอะ - วันนี้หิวข้าวแล้ว ขอพอแค่นี้ก่อนนะคะ ชนิดของ Shot ยังไม่หมดแค่นี้หรอก ยังมี ละอี้ละเอียด ยิบย่อยลงไปอีก ไว้เดี๋ยวจะมาสาธยายต่อ ในตอน 7.2 พร้อมอธิบายด้วยภาพ (ติดไว้ก่อน) ส่วนวันนี้ เอาภาพอะไรไปดูก่อนดี ??? ELS./ WS. สวนลุมกะเรือเป็ดละกันนะคะ ประกอบการจินตนาการ 55555 บัย